ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของ  ตำบลบางโฉลง

ในอดีต ทุ่งบางโฉลงเป็นที่ราบลุ่ม พื้นที่เป็น “เรือกสวนไร่นา บ่อปลา” น้ำทะเลสามารถท่วมถึงดังที่ ท่านประยูร จรรยาวงษ์ หรือศุขเล็ก นักเขียนการ์ตูนนามอุโฆษ กล่าวว่าปลาสลิดที่บางพลี รสอร่อย เพราะเป็นน้ำกร่อยกำลังพอดีทำให้ปลาสลิดมีเนื้อหวาน
ใน พ.ศ.1974 พระเจ้าสามพระยา ยกทัพไปย้ำรอยแค้นเขมรที่ตกเป็นประเทศราชของไทยเกือบ 14 ทศวรรษ (ปี พ.ศ.2112 ไทยตกเป็นเมืองขึ้นพม่า) พ.ศ.2041ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 โปรดให้ขุดคลองสำโรง เพื่อใช้เป็นเส้นทางลำเลียง ขนเสบียงอาหาร และอาวุธยุทโธปกรณ์ เพื่อไปรบกับเขมรและเวียดนาม บางพลีเป็นด่านที่สำคัญโดยคนลาวใช้ควายลากเรือตามรายทางจากบางพลีไปบางโฉลง
ในปี พ.ศ.2371 พระเจ้าอนุวงศ์กษัตริย์ลาวสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพฯ ครอบครัวชาวลาวมาอยู่ที่บางหญ้าแพรก สำโรง บางพลี บางลาว บางพวกกระโดดหนีความกันดารไปอยู่พนัสนิคม สำหรับบางลาว ขอเปลี่ยนชื่อเป็นบางปลา (ข่าวว่าเพราะปลาชุม ทั้งที่ใช้มาตั้งนาน) เมื่อ 2 ก.ค. 2483 (ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 57 หน้า 662) บรรพชนคนบางโฉลง อาจจะเป็นอ้ายลาวก็ได้ เพราะสอดคล้องกับข้อความเรื่องเล่าในหนังสือสภาวัฒนธรรม อำเภอบางพลี จากคำบอกเล่าของ นางเงิน สัตยานนท์ คุณแม่ของประธานสภาวัฒนธรรม อาจารย์ชูศรี สัตยานนท์ ผู้เป็นลูก ในหนังสือหน้า 32 บรรพบุรุษของท่านได้เล่าไว้ว่า
ชาวบางโฉลงหลังจากทำนาเสร็จแล้ว จะล่องควายมาตามคลองบางโฉลง ออกคลองสำโรง ก็นำมาเลี้ยงบริเวณคลองบางเรือน สถานที่นี้อยู่ประมาณกิโลเมตร 16 ถนนเทพารักษ์ แถบบ้านย่านนี้ ตามแผนที่เรียกว่าสนามควาย ไม่ได้ใช้ทำนาเพราะมีหญ้าเยอะ การล่องควายมาในคลองบางโฉลงจำนวนมาก ๆ มองดูเสมือน ทัพควาย พื้นที่ฝั่งใต้ของคลองสำโรง สูงขึ้นไป 4 – 5 กม. เป็นป่าแสม ลมทะเลพัดถึงบางพลี คลองสำโรงสามารถแล่นเรือใบได้ มีน้ำขึ้นน้ำลงเวลาน้ำลงเรือแล่นไม่ได้ ต้องใช้ควายลากจูงเรือ ควายกลุ่มนี้ก็คือควายของชาวนาในอดีต พามากินหญ้าที่บางเรือนถึงบางพลี ทำให้เกิดอาชีพใหม่
บางโฉลงมีพรรณปลานานาชนิด เช่น ปลากะพง ปลากระบอก กุ้งแช่บ๊วย กุ้งตะกาด รวมถึงจระเข้ ปัจจุบันหาดูไม่ได้แล้ว เพราะว่าประตูน้ำเขื่อนกั้นน้ำ มาเป็นกำแพงขวางกั้น 200 ปี บางโฉลงมีคลองเล็กคลองน้อย เชื่อมคลองสำโรง เช่น คลองบางขวาง คลองไส้ไก่ คลองบางลำพู คลองสานคลองบางโฉลง คลองบางน้ำจืด คลองบางกะสี คลองแสนแสบ คลองอ้อม คลองตัน คลองบางตะเคียนคลองโอ่งแตก คลองชวดหมัน ตำบลบางโฉลงมีลำคลองมากถึง 24 สาย ทำให้ผลผลิตได้ผลดี เรือกสวนไร่นา ก็สร้างคุณอเนกอนันต์
คลองสำโรง เป็นคลองที่เชื่อมระหว่าง แม่น้ำเจ้าพระยากับแม่น้ำบางปะกง มีความยาวประมาณ 55.650 กิโลเมตร ขุดในสมัยขอมเรืองอำนาจ ระหว่าง พ.ศ.978 ถึง 1700 หลักฐานที่พบคือคำดั้งเดิมซึ่งเป็นภาษาขอม ได้กล่าวไว้คำว่า “โฉลง”เพี้ยนมาจากคำว่า “จรรโลง” แปลว่า ยก ยกในที่นี้อาจบ่งบอกถึงสภาพท้องถิ่น   มีการยกยออยู่ตามลำคลองหรือมีการยกเรือ ลากเรือในช่วงหน้าแล้ง (ผู้ให้ข้อมูล พลตรีถวิล อยู่เย็น)
บางโฉลงเปลี่ยนแปลงจากการทำนา มาเป็นการเลี้ยงปลา เพราะผลิตผลตอบแทนดีกว่า
การทำนาถึง 3เท่า รายแรกที่เลี้ยงปลา คือ 
•  นายกวน ตีทอง แห่งคลองแสนแสบ เลี้ยงปลาจีนเป็นหลัก
•  นายยา ประเสริฐอาภา เลี้ยงปลาเบญจพรรณริมคลองสำโรง เศรษฐีมุสลิม ที่ย้ายถิ่นมาจากพระโขนง ใจดีถึงขนาดยกที่ดินให้กับโรงเรียนสุเหร่าบางกะสี
•  นายเลี้ยง มงคลสิน เริ่มเลี้ยงปลาสลิดเป็นแห่งแรกของบางโฉลง


ตราสัญลักษณ์